ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
6 กันยายน 2561

0


อำเภอบ้านนาสาร เดิมชื่ออำเภอลำพูน (ร.ศ.118) ทางราชการได้ปรับปรุง ตำบลพ่วงพรหมคร  ตำบลทุ่งหลวง ตำบลท่าชี ตำบลนาสาร ตำบลบ้านนา และตำบลลำพูน ตั้งเป็นอำเภอขึ้น เรียกว่า“อำเภอลำพูน”ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นที่ ตำบลบ้านนา ขึ้นตรงต่อมณฑลชุมพร ต่อมาทางราชการได้ตั้งเมืองสุราษฎร์ธานี  และได้โอนอำเภอลำพูนมาขึ้นกับเมืองสุราษฎร์ธานี  และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านนา  เพื่อให้ตรงกับที่ตั้ง และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2481  ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลนาสาร เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น “ อำเภอบ้านนาสาร ” มาจนถึงปัจจุบัน

 

ทำเลที่ตั้ง
6 กันยายน 2561

0


อำเภอบ้านนาสาร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะทางห่างจาก ศาลากลางจังหวัด  43  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ  45  นาที  ห่างจากกรุงเทพมหานคร  ประมาณ  685  กิโลเมตร

 

ขนาด

อำเภอบ้านนาสาร  มีพื้นที่ประมาณ  835  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  521,875  ไร่

 

อาณาเขต

ทิศเหนือ                   จด  อำเภอเมือง อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทิศตะวันออก     จด  อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี/อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทิศตะวันตก     จด  อำเภอเคียนซา  อำเภอบ้านนาเดิม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทิศใต้                       จด  อำเภอเวียงสระ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ลักษณะภูมิประเทศ

 

          อำเภอบ้านนาสารมีพื้นที่ราบสูง   และภูเขาด้านทิศตะวันออก   จะลาดต่ำไปทางด้านทิศตะวันตก  เข้าสู่แม่น้ำตาปี  ซึ่งเป็นแม่น้ำแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอบ้านนาสารกับอำเภอเคียนซา  สภาพพื้นที่โดยภาพรวม  อำเภอบ้านนาสาร  ประกอบด้วยพื้นที่ราบและภูเขาปะปนกันไป  พื้นที่ส่วนใหญ่จะเหมาะแก่การปลูกพืชหลายชนิด  โดยเฉพาะไม้ผลเพราะมีระดับน้ำตื้น   ซึ่งบางพื้นที่ของอำเภอบ้านนาสารระดับน้ำลึกจากผิวดิน  ประมาณ   1 - 2   เมตร   และมีดินที่อุดมสมบูรณ์มาก  ในด้านทิศตะวันออกของอำเภอ  เป็นดินบริเวณเชิงเขา และความอุดมสมบูรณ์   จะลดระดับลงจนจดริมแม่น้ำตาปี  ซึ่งเป็นบริเวณที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ของอำเภอ  สำหรับพื้นที่มีความเหมาะสมกับการปลูกพืช   สามารถแยกออกได้   ดังนี้

          -  สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลลำพูน   ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์   ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาและเนินเขาระหว่างภูเขาจะมีที่ราบเหมาะในการปลูกยางพารา

          -  สภาพพื้นที่ท้องที่ตำบลพรุพี   ตำบลคลองปราบ  และตำบลควนศรี   จะมีพื้นที่ลักษณะลอนโดยเป็นเนินสูงบ้าง  ซึ่งเหมาะแก่การปลูกไม้ผล  และทำสวนยาง  และที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาข้าว

          -  สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลควนสุบรรณ  ตำบลทุ่งเตา   ตำบลทุ่งเตาใหม่   จะมีลักษณะพื้นที่ราบและมีเนินเขาเตี้ยปะปนกันไป   เหมาะในการทำสวนไม้ผลและปลูกยางพารา

          -  สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลท่าชี และตำบลน้ำพุ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบ ถึงราบลุ่มเหมาะ  ในการปลูกไม้ผลในที่ดอน  และเหมาะแก่การทำนาในที่ราบลุ่ม และมีพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำตาปี  ซึ่งจะเป็นที่ลุ่มไม่เหมาะแก่การทำนา   เกษตรกรจะใช้ที่ราบลุ่มส่วนนี้ในการเลี้ยงปลา

 

ลักษณะภูมิอากาศ

 

อำเภอบ้านนาสาร ได้รับปริมาณน้ำฝนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้  ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี จะทำให้เกิดฝนตกเล็กน้อยในช่วงนี้ และจะมีฝนตกชุกในเดือนตุลาคม-ธันวาคมของทุกปี นอกจากนี้อำเภอบ้านนาสาร ยังได้รับอิทธิพลของใต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ประมาณเดือนตุลาคม - ธันวาคมของทุกปี  จากอิทธิพลของมรสุมและใต้ฝุ่น   ซึ่งจะได้รับอิทธิพลในช่วงเดียวกัน  จึงทำให้ฝนตกชุก  อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน   โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอ  ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม  ในพื้นที่อำเภอบ้านนาสารจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี   ประมาณ   38   องศาเซลเซียส

            แบ่งฤดูกาลของอำเภอบ้านนาสารสามารถแบ่งได้   2 ฤดู   คือฤดูร้อนและฤดูฝน   สำหรับฤดูหนาวไม่ชัดเจน  เพราะบางปีในช่วงฤดูหนาว  จะรู้สึกหนาวเล็กน้อยโดยเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น

          ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี  สำหรับบางปีฤดูร้อนจะเลยไปถึงเดือนพฤษภาคม

          ฤดูฝน   เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม ของทุกปี

 

ประชากร
6 กันยายน 2561

0


 อำเภอบ้านนาสาร มีประชากรทั้งหมด 70,191 คน เพศชาย  34,674 คน  เพศหญิง  35,517 คน

ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 84.06 คนต่อตารางกิโลเมตร 

 

ตารางที่ 1  จำนวนประชากรจำแนกตามเพศรายตำบล

ตำบล

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

ทะเบียนราษฎร์

JHCIS

ทะเบียนราษฎร์

JHCIS

ทะเบียนราษฎร์

JHCIS

1. ทุ่งเตาใหม่

3,235

2,966

3,173

2,935

6,408

5,901

2. ทุ่งเตา

2,100

1,982

2,160

1,973

4,260

3,955

3. ควนสุบรรณ

2,638

2,409

2,668

2,463

5,306

4,872

4. ลำพูน

2,975

2,899

3,019

2,981

5,994

5,880

5. เพิ่มพูนทรัพย์

1,869

4,932

1,873

2,450

3,742

2,482

6. คลองปราบ

1,918

2,095

1,929

2,209

3,847

4,304

7. พรุพี

2,803

2,607

2,907

2,593

5,710

5,165

8. ควนศรี

2,364

2,852

2,478

3,013

4,842

5,865

9. น้ำพุ

2,721

2,576

2,891

2,766

5,612

5,342

10. ท่าชี

2,337

2,332

2,451

2,513

4,788

4,845

11. นาสาร

9,714

8,771

10,057

9,360

19,771

18,137

รวม

34,674

36,421

35,517

35,256

70,191

66,748

ตารางที่  2  จำนวนประชากรจำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ

ช่วงอายุ

ประชากร

รวม

ร้อยละ

ชาย

หญิง

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

0 - 4

2,429

7.01

2,244

6.32

4,673

6.65

5 - 9

2,369

6.83

2,219

48.37

4,588

6.54

10 - 14

2,255

6.51

2,092

48.13

4,347

6.19

15 - 19

2,526

7.29

2,347

48.16

4,873

6.94

20 - 24

2,529

7.30

2,687

51.51

5,216

7.43

25 - 29

2,733

7.89

2,782

50.44

5,515

7.86

30 - 34

3,072

8.86

3,018

49.56

6,090

8.68

35 - 39

2,932

8.46

2,822

49.04

5,754

8.20

40 - 44

2,863

8.26

2,908

50.39

5,771

8.22

45 - 49

2,689

7.76

2,841

51.37

5,530

7.88

50 - 54

2,292

6.61

2,352

50.65

4,644

6.62

55 - 59

1,692

4.88

1,793

51.45

3,485

4.96

60 - 64

1,283

3.70

1,557

54.82

2,840

4.05

65 - 69

879

2.54

1,083

55.20

1,962

2.79

70 - 74

774

2.23

885

53.28

1,661

2.37

75 - 79

626

1.81

813

56.50

1,439

2.05

80 ปีขึ้นไป

717

2.07

1,086

60.23

1,803

2.57

รวม

34,674

49.40

35,517

50.60

70,191

100.00

 

 

ศาสนา/การปกครอง
6 กันยายน 2561

0


ศาสนา

                   1. จำนวนวัดหรือสำนักงานสงฆ์  18/7  แห่ง   พระสงฆ์  210  รูป  สามเณร  24  รูป

                   2. จำนวนโบสถ์คริสต์  2  แห่ง   นักบวชหรือผู้สอนศาสนาคริสต์  -  คน

                   3. จำนวนมัสยิด  -  แห่ง  นักบวชหรือผู้สอนศาสนาอิสลาม  -  คน

                   4. จำนวนสถานสอนศาสนาอื่น ๆ   -  แห่ง  นักบวชหรือผู้สอนศาสนา  -  คน

                   5. ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 99.50  ศาสนาคริสต์และอิสลาม  ร้อยละ 0.50               

การปกครอง

อำเภอบ้านนาสาร แบ่งการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457  เป็น ตำบล หมู่บ้าน   มีตำบล  10 แห่ง และหมู่บ้าน 65  หมู่บ้าน

มีเทศบาล   2   แห่ง   คือ  เทศบาลเมืองนาสาร  แบ่งเขตการปกครองและการบริหารออกเป็น   24   ชุมชน

และเทศบาลตำบลพรุพี มีองค์การบริหารส่วนตำบล   9   แห่ง   คือ

             1. องค์การบริหารส่วนตำบลควนศรี           2. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปราบ       

            3. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชี              4. องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพุ

            5. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตา            6. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่

            7. องค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ     8. องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน         

            9. องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์

 

ส่วนราชการประจำอำเภอ  มีหน่วยราชการสังกัดภูมิภาค  ดังนี้

             1. ที่ทำการปกครองอำเภอบ้านนาสาร        2. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านนาสาร

             3. สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาสาร         4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านนาสาร

             5. สัสดีอำเภอบ้านนาสาร                        6. ท้องถิ่นอำเภอบ้านนาสาร

             7. สหกรณ์อำเภอบ้านนาสาร

 

          ส่วนราชการสังกัดส่วนกลาง

             1. สรรพากรพื้นที่สาขาบ้านนาสาร                2. สำนักงานที่ดินจ.สุราษฎร์ธานี สาขาบ้านนาสาร      

             3. อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น                        4. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สฎ (ห้วยมุด)

             5. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่  สฎ 7  (ปลายน้ำ)  6. สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน

             7. สภ.บ้านนาสาร                                    8. สภ.ท่าชี

             9. สำนักงานขนส่ง  จ. สุราษฎร์ธานี  สาขาบ้านนาสาร                                                      

 

การรักษาความสงบเรียบร้อย

             มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล   จำนวน  2  แห่ง   ดังนี้

             1. สถานีตำรวจภูธรบ้านนาสาร   

             2. สถานีตำรวจภูธรท่าชี

 

ทรัพยากรธรรมชาติ/เศรษฐกิจ
6 กันยายน 2561

0


ทรัพยากรธรรมชาติ

 

 

         อำเภอบ้านนาสารมีทรัพยากรธรรมชาติที่น่าสนใจ  ดังนี้

         ดิน  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนเหมาะแก่การทำสวนผลไม้  ยางพารา และการเกษตรกรรม

         แม่น้ำ ลำคลอง ประกอบด้วย  แม่น้ำตาปี  คลองฉวาง  คลองลำพูน

         ป่าไม้ ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้ใหญ่และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ

         แร่ธาตุ ส่วนใหญ่เป็นแร่ดีบุก  วุลแฟรม  และยิปซั่ม

 

 

 โครงสร้างพื้นฐาน

 

         การคมนาคม  มีรถไฟสายใต้วิ่งผ่าน มีสถานีรถไฟ  4  แห่ง ทางหลวงแผ่นดิน สาย 401

         ทางหลวงจังหวัด และถนน รพช.สามารถเดินทางได้สะดวกทุกฤดูกาล

         การสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข มีโทรศัพท์สาธารณะทุกตำบล

         วิทยุสื่อสารเครือข่ายสาธารณสุข  8  แห่ง เครือข่ายมหาดไทย และมี อพปร. ครบทุกตำบล

         การไฟฟ้า  ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครบทุกหมู่บ้าน

         การประปา ใช้น้ำจากการประปาภูมิภาค  1  แห่ง  ประปาหมู่บ้าน  30   แห่ง

 

 

เศรษฐกิจ

 

         อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  75.2%

            1. อาชีพหลัก  ทำสวนยางพารา  72.49%

            2. อาชีพรอง  ทำสวนไม้ผล       27.51 %

 

         รายได้เฉลี่ยของประชากร/คน/ปี

            1. รายได้รวมเฉลี่ย/คน/ปี                  ประมาณ    44,735     บาท

            2. รายได้รวมเฉลี่ย/ครอบครัว/ปี           ประมาณ  445,345     บาท

 

         การเงินและการคลัง  ประกอบด้วยสถาบันการเงิน  ดังนี้

            1. ธนาคารออมสิน

            2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)

            3. ธนาคารทหารไทย

            4. ธนาคารไทยพาณิชย์

            5. ธนาคารกรุงไทย  จำกัด

 

โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการ   จำนวน   19   แห่ง  ดังนี้

1. ตำบลควนศรี                     1          แห่ง

2. ตำบลพรุพี                        8          แห่ง

3. ตำบลคลองปราบ                5          แห่ง

4. ตำบลน้ำพุ                        3          แห่ง

5. ตำบลทุ่งเตาใหม่                 1          แห่ง

6. ตำบลควนสุบรรณ               2          แห่ง

7. เขตเทศบาลเมืองนาสาร         4          แห่ง

 

 

เอกสารแนบ